จากประเด็นร้อนเรื่องการดำเนินการโรงหนังขนาดเล็กของ Doc Club & Pub
เพื่อนๆ คะ เรามีเรื่องต้องแจ้งให้ทราบค่ะ
Doc Club & Pub. ต้องหยุดให้บริการในส่วนของการฉายภาพยนตร์ลงแล้วค่ะ
ขออนุญาตลำดับเหตุผลดังนี้นะคะ (ขอโทษมากๆ ค่ะที่ยาวหน่อย)
1. เราเข้ามาทำพื้นที่ส่วนนี้ต่อจากเจ้าของเดิมที่ตัดสินใจเลิกกิจการไปในช่วงโควิด-19 เนื่องจากเรามีความใฝ่ฝันอยากมีสเปซฉายหนังนอกกระแสและหนังสารคดีเป็นของตัวเองมานานแล้ว และน่าเสียดายหากที่ที่มีความพร้อมด้านองค์ประกอบต่างๆ แทบทุกอย่างแห่งนี้จะต้องถูกรื้อถอนทิ้งไป
__
2. แต่แม้เราจะทำงานเกี่ยวข้องกับหนังกันมานาน เราก็ขาดความรอบรู้เพียงพอในหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำที่ฉายหนัง อันเป็นกิจการที่เราไม่เคยทำมาก่อน หนึ่งในนั้นคือการไม่รู้ว่าที่นี่ยังขาดการขออนุญาตการเป็นโรงมหรสพ
__
3. เราทำงานด้วยความไม่รู้นั้นมาเรื่อยๆ จนเมื่อเราจัดฉายหนังเรื่องหนึ่งที่ได้เรต 20+ ทำให้เจ้าหน้าที่เดินทางมาตรวจว่าเราควบคุมการเข้าชมของผู้ชมถูกต้องหรือไม่ และวันนั้นเองที่ทำให้เราถูกถามเรื่องการขออนุญาตเป็นโรงมหรสพดังกล่าวพ่วงไปกับการตรวจด้วย เมื่อได้รู้แล้วเราจึงลงมือดำเนินการจัดเตรียมเอกสารแล้วไปยื่นขอตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ
__
4. ในช่วงระยะเวลาร่วมปีที่คาบเกี่ยวกันนั้น เป็นช่วงที่พวกเรากำลังพยายามมีส่วนร่วมในการสนับสนุนให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า micro cinema หรือโรงภาพยนตร์/ที่ฉายหนังขนาดเล็กๆ ทั่วประเทศ เพราะตลอดการทำงานที่ผ่านมา เราพบว่ามีสเปซมากมายในหลากหลายจังหวัดที่อยากนำหนังนอกกระแสไปเผยแพร่ มีกลุ่มผู้ชมที่ไม่สามารถพบเจอหนังเหล่านี้ในโรงทั่วไปและเฝ้ารอโอกาสที่จะได้ชม เราจึงพยายามส่งหนังของเราไปยังพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างวัฒนธรรมแห่งการชมหนังด้วยกันอย่างหลากหลายและเป็นอิสระ เพราะเราเชื่อว่านี่แหละคือรากฐานที่สำคัญของการมีอุตสาหกรรมหนังที่แข็งแรง
__
5. และเป็นเพราะการทำงานในข้อ 4 นี้เอง ที่ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า อุปสรรคสำคัญที่สุดที่จะทำให้ micro cinema เกิดขึ้นได้ยากนั้น ไม่ใช่เรื่องของโลเคชั่น ทุน หรือแม้แต่คอนเทนต์ มากเท่ากับการที่พรบ.ภาพยนตร์และกฎกระทรวงในปัจจุบันซึ่ง "ใช้หลักเกณฑ์ในการอนุญาตตัวอาคารและโรงมหรสพ เกณฑ์เดียวกันทั้งหมด" ไม่ว่าจะเป็นโรงขนาดใหญ่ในห้างสรรพสินค้าขนาดยักษ์ หรือห้องฉายหนังเล็กจิ๋วในอาคารห้องแถว ทั้งเรื่องการกำหนดระยะทางเดิน ความกว้างของบันได ฯลฯ
หรือกล่าวง่ายๆ ก็คือ อาคารที่เราตั้งอยู่และอาคารโดยทั่วไปส่วนใหญ่ที่เราพบเห็นในประเทศนี้จะไม่สามารถได้รับอนุญาตให้เป็นที่ตั้งของห้องฉายหนังได้เลย สิ่้งที่เรียกว่า "โรงหนังห้องแถว" ไม่สามารถมีอยู่จริงได้ในบริบทนี้ และสำหรับประเทศของเรา โรงมหรสพจะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะในอาคารที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เท่านั้น
น่าสนใจที่ในอารยประเทศ หรือแม้แต่ประเทศเพื่อนบ้านเราอย่างเวียดนาม เขาไม่นับโรงเล็กเหล่านี้ว่าเป็น "โรงมหรสพ" ค่ะ
__
6. มีเรื่องเล่าเพิ่มเติมเล็กน้อยค่ะว่า ในวันที่เราไปยื่นเอกสารขอจดเป็นโรงมหรสพและถูกท้วงติงกลับมาว่ายังขาดใบอนุญาตอาคารนั้น เจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อมูลด้วยว่า ที่ผ่านมายังไม่เคยมีที่ฉายหนังแบบเราไปขออนุญาตมาก่อนเลย จึงสงสัยอยู่เหมือนกันว่าควรจะทำอย่างไร
__
7. หลังจากนั้น เราได้พยายามสื่อสารถึงอุปสรรคข้อนี้ออกไปในที่สาธารณะและเวทีพูดคุยเรื่อง micro cinema ต่าง ๆ โดยนำเสนอความคิดเรื่องการปรับแก้กฎกระทรวงให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้นไปยังผู้ที่อาจจะเกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ดี ความพยายามของเราไม่อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทันการ ไม่กี่วันหลังจากไปพูดบนเวทีดังกล่าว เราก็ได้รับจดหมายจากกระทรวงแจ้งว่า พวกเราทำการเปิดกิจการฉายหนังโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินจำนวนหนึ่งซึ่งสูงพอสมควร (โชคยังดีเล็กน้อยที่คำตัดสินให้เลือกได้ว่าจะถูกลงโทษด้วยการบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะแทนก็ได้หากไม่มีเงิน ซึ่งแน่นอนว่าเราต้องเลือกข้อนี้)
__
8. นั่นเป็นจดหมายฉบับแรกค่ะ เรายังพยายามเสนอความคิดเรื่องการแก้กฎหมายต่อไปเพราะหวังว่าอย่างน้อย หลังจากนี้ทั้งเราและทุกคนควรจะมีโอกาสได้ทำที่ฉายหนังเล็กๆ ได้เพื่อร่วมกันสร้างวัฒนธรรมการดูหนังได้ แต่ไม่กี่วันหลังจากนั้น จดหมายฉบับที่สองซึ่งว่าด้วยตัวอาคารก็ตามมา พร้อมคำสั่งให้เราหยุดการฉายภาพยนตร์
__
9. ดังนั้น Doc Club & Pub. จึงจำเป็นต้องหยุดให้บริการเฉพาะในส่วนของการฉายภาพยนตร์และจำหน่ายบัตรดังที่ทำอยู่ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป แต่เราจะยังจัดกิจกรรมอื่น ๆ ต่อ พร้อมกับมองหาอาคารสถานที่แห่งใหม่ที่จะเอื้อให้เรากลับมาทำพื้นที่ฉายภาพยนตร์เล็ก ๆ ได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม เรายังขอยืนยันว่ากฎหมายที่มีอยู่นั้น จำเป็นที่สุดที่จะต้องถูกแก้ไขโดยเร่งด่วน เพื่อให้พื้นที่ฉายหนังขนาดเล็กเกิดขึ้นได้อย่างเป็นอิสระ หรืออย่างน้อยก็อยู่ภายใต้กฎกติกาที่เหมาะสม และมุ่งส่งเสริม ไม่ใช่มุ่งปราบปรามทำลาย
__
10. สุดท้ายนี้ เราขอขอบคุณทุก ๆ ท่านมาก ๆ นะคะที่กรุณาสนับสนุน Doc Club & Pub. มาโดยตลอด หากไม่มีทุกท่าน เราก็ไม่สามารถจะยืนอดทนมาจนถึงตอนนี้ได้แน่นอน และต้องขออภัยอย่างที่สุดที่ความอ่อนด้อยทำให้เราเดินมาถึงได้แค่ตรงนี้
แต่หากสิ่งที่เราทำยังพอมีความสำคัญสำหรับท่าน เราก็จะพยายามหาโอกาสเผยแพร่หนังดี ๆ อีกจำนวนมากที่เราติดต่อไว้ และทำกิจกรรมอีกหลายอย่าง รวมถึงเทศกาลหนังที่เราวางแผนไว้ค่ะ
ขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ
ทีมงาน Doc Club & Pub.
Doc Club & Pub ต้องหยุดฉายภาพยนตร์ สรุปใจความได้ว่า:
- ไม่ได้รับอนุญาตเป็นโรงมหรสพ: Doc Club & Pub เปิดฉายภาพยนตร์โดยไม่ทราบว่าต้องขออนุญาตเป็นโรงมหรสพตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายปัจจุบัน (พรบ.ภาพยนตร์และกฎกระทรวง) กำหนดมาตรฐานอาคารสำหรับโรงมหรสพที่เข้มงวดเหมือนกันหมด ไม่ว่าจะเป็นโรงใหญ่ในห้างหรือโรงเล็กในห้องแถว ทำให้ห้องแถวทั่วไปไม่สามารถขออนุญาตได้
- ถูกปรับและสั่งหยุดฉาย: หลังจากถูกตรวจพบและพยายามขออนุญาต ทาง Doc Club & Pub ได้รับจดหมายจากกระทรวงให้หยุดฉายภาพยนตร์และต้องจ่ายค่าปรับ (เลือกบำเพ็ญประโยชน์แทนได้)
- กฎหมายไม่เอื้อต่อโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก: กฎหมายปัจจุบันไม่รองรับการมีอยู่ของ “โรงหนังห้องแถว” ทำให้เกิดอุปสรรคต่อการสร้าง micro cinema ซึ่งเป็นสิ่งที่ Doc Club & Pub พยายามสนับสนุน
เรื่องสำคัญ:
- ความตั้งใจ: Doc Club & Pub ต้องการสร้างพื้นที่ฉายหนังนอกกระแสและสารคดี เพราะเห็นว่ามีผู้ชมที่ต้องการชมหนังเหล่านี้
- ปัญหา: การขาดความรู้เรื่องกฎหมายโรงมหรสพ และกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อโรงหนังขนาดเล็ก
- ความพยายาม: Doc Club & Pub พยายามผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ micro cinema เกิดขึ้นได้จริง
- ผลกระทบ: Doc Club & Pub ต้องหยุดฉายภาพยนตร์ แต่ยังคงจัดกิจกรรมอื่น ๆ และมองหาพื้นที่ใหม่
- ข้อเรียกร้อง: Doc Club & Pub เรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายอย่างเร่งด่วน เพื่อส่งเสริม ไม่ใช่ปราบปรามโรงหนังขนาดเล็ก
สรุปย่อๆ:ทาง Doc Club & Pub ต้องหยุดฉายหนังเพราะไม่ได้รับอนุญาตเป็นโรงมหรสพตามกฎหมายที่ไม่เอื้อต่อโรงหนังขนาดเล็ก แม้จะมีความพยายามผลักดันให้แก้ไขกฎหมายแล้วก็ตาม พวกเขายังคงมุ่งมั่นที่จะสร้างพื้นที่ฉายหนังต่อไป แต่เรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อสนับสนุน micro cinema ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นอิสระ
โดยทาง “”ทางอนุกรรมการภาพยนตร์ฯ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ“” ได้มีการชี้แจ้งเพียงเล็กน้อยเนื่องจากข้อกำหนดและกฏหมายมีการบังคับใช้หลาย พรบ และหลายกระทรวง
เราได้มีการคุยกับผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีลักษณะนี้เป็นระยะๆ และในร่าง พรบ.ภาพยนตร์ฯ ฉบับใหม่ที่จะมีการนำเสนอโดยพรรคการเมือง ก็คำนึงถึงการแก้ปัญหาเรื่องนี้เป็นสำคัญ
ในส่วนของปัญหาที่เกิดจากกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน เบื้องต้นมีการนัดคุยกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับกฎหมายฯ (กฎกระทรวง) ทั้งของกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 25 ธันวาคม 2567 นี้
โดยในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม ได้มีการแจ้งไปยังที่ปรึกษารัฐมนตรี และประสานงานกับอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมแล้ว
เรามุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง
ทั้งในระยะเร่งด่วน และในระยะยาวและเรายืนยันว่า ปัญหานี้จะถูกแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะเช่นนี้ในอนาคตอย่างแน่นอน
จึงเรียนมาเพื่อทำความเข้าใจในข้อห่วงใยของทุกท่าน
สถานการณ์ปัจจุบัน:
- รับทราบปัญหา: ผู้เกี่ยวข้องรับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Doc Club & Pub และผู้ได้รับผลกระทบอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน
- ร่าง พ.ร.บ. ใหม่: ร่าง พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ฉบับใหม่ที่พรรคการเมืองจะนำเสนอ ได้คำนึงถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องกฎหมายโรงมหรสพที่ไม่เอื้อต่อโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก
- นัดหารือหน่วยงาน: มีการนัดหารือกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม และกรมโยธาธิการและผังเมือง) ในวันที่ 25 ธันวาคม 2567 เพื่อแก้ไขกฎหมาย (กฎกระทรวง) ที่เป็นอุปสรรค
- ประสานงานกระทรวง: กระทรวงวัฒนธรรมได้แจ้งไปยังที่ปรึกษารัฐมนตรีและประสานงานกับอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรมแล้ว
แนวทางการแก้ไข:
- แก้ไขกฎหมายเร่งด่วน: มุ่งแก้ไขกฎหมาย (กฎกระทรวง) ที่เป็นอุปสรรคต่อการตั้งโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก โดยจะมีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- แก้ไขกฎหมายระยะยาว: ร่าง พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ฉบับใหม่จะมีการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างครอบคลุม
- ป้องกันปัญหาในอนาคต: ยืนยันว่าจะแก้ไขปัญหาเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นอีกในอนาคต
สรุปย่อ:
มีการรับทราบปัญหาและกำลังดำเนินการแก้ไขทั้งในระยะสั้น (การหารือเพื่อแก้ไขกฎกระทรวง) และระยะยาว (ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่) เพื่อให้โรงภาพยนตร์ขนาดเล็กสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย และป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกับ Doc Club & Pub อีกในอนาคต
แนวทางการแก้ไขหลัก ๆ คือ:
- การแก้ไขกฎกระทรวง: เพื่อผ่อนปรนหรือปรับแก้ข้อกำหนดที่ไม่เหมาะสมสำหรับโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก
- การผลักดันร่าง พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฯ ฉบับใหม่: ที่จะแก้ไขปัญหาอย่างครอบคลุมและยั่งยืน
ซึ่งตามกระบวนการแล้วไม่น่าจะสามารถปรับปรุงเปลี่ยนอะไรได้ทันทีและด้วยข้อจำกัดมากมายทำให้การเติบโตของโรงหนังเฉพาะกลุ่มจึงแคบเกินกว่าจะมีเอกชนที่มีทุนทรัพย์มากพอที่จะดำเนินกิจการขนาดเล็กได้
โดยทาง Thai ArtHouse ได้มีการสร้างแคมเปณเพื่อลงชื่อสนับสนุนการสร้างโรงหนังขนาดเล็ก เพื่อกิจการขนาดเล็กจะได้มีพื่นที่ให้สามารถดำเนินกิจการได้
ทั้งนี้การสนับสนุนของทางฝั่ง สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทย มีการสนับสนุนชัดเจนให้มีการปรับเปลี่ยนกฏต่างๆ
และยังมี สมาคมวิชาชีพนักเขียนบท ก็เสนอความเห็นให้มีการปลดล็อกปรับเปลี่ยนเช่นกัน